ธาตุกัมมันตรังสี
ธาตุกัมมันตรังสี หมายถึงธาตุที่แผ่รังสีได้ เนื่องจากนิวเคลียสของอะตอมไม่เสถียร เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่า 82 กัมมันตภาพรังสี หมายถึงปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง รังสีที่ได้จากการสลายตัวมี 3 ชนิด คือ รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมาในนิวเคลียสของธาตุประกอบด้วยโปรตอนซึ่ง มีประจุบวกและนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า สัดส่วนของจำนวนโปรตอนต่อจำนวนนิวตรอนไม่เหมาะสมจนทำให้ธาตุนั้นไม่เสถียร ธาตุนั้นจึงปล่อยรังสีออกมาเพื่อปรับตัวเองให้เสถียร ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
รังสีแอลฟา (alpha rays หรือ a-rays) เป็นกระแสของอนุภาคแอลฟาที่มีประจุบวก ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และ นิวตรอน 2 อนุภาค ซึ่งเหมือนกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ ผ่านอากาศได้เพียง 2- 3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ อนุภาคแอลฟาเกิดจากการสลายของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น ยูเรเนียม และทอเรียม
รังสีบีตา (beta rays หรือ b-rays) ได้แก่ อนุภาคอิเล็กตรอน หรือโพซิตรอน ที่ถูกปล่อยออกจากนิวเคลียสขณะเกิดการ สลายกัมมันตรังสีของธาตุกัมมันตรังสี
รังสีแกมมา (gamma rays หรือ g-rays) เป็นรังสีที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดคลื่นสั้น เกิดจากการสลายของนิวเคลียสที่ ไม่เสถียร หรือจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ มักเกิดร่วมกับอนุภาคแอลฟาและอนุภาคบีตา รังสีแกมมามีอำนาจในการทะลุทะลวงสูง ดังนั้น ในการป้องกันอันตรายจากรังสีจึงต้องใช้วัสดุที่มีความหนาแน่นสูง เช่น ตะกั่ว หรือคอนกรีตหนาเป็นเครื่องกำบัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น