วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

6.จุดเดือดจุดหลอมเหลว

6.จุดเดือดจุดหลอมเหลว

อนุภาคของสารที่อยู่รวมกันจะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน การแยกอนุภาคของสารออกจากกันอาจใช้วิธีให้ความร้อนแก่สารจนมีอุณหภูมิสูงถึง จุดหลอมเหลวหรือจุดเดือด พลังงานความร้อนที่ใช้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาด (หรือความแข็งแรง) ของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคในสารนั้น สารที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมากจะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงด้วย ตัวอย่างจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของธาตุหมู่ IA-VIIA
   อุณหภูมิที่ทำให้สารเคมีเปลี่ยนสถานะจากของแข็งหลอมเป็นของเหลว หรือของเหลวเดือดกลายเป็นก๊าซ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายสูงกว่าได้ เช่น กำมะถันปกติจะมีสถานะเป็นผลึก ของแข็ง หรือผง เมื่อให้ความร้อนสูงถึง 119 องศาเซลเซียส ก็จะหลอมละลายเป็นกำมะถันเหลว (Melten) Sหรือ H2SOและจะเดือดกลายเป็นไอของ SO2 และ SO3 ที่อุณหภูมิสูงกว่า 444.6 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นอันตรายจากความเป็นพิษและฤทธิ์กัดกร่อนมากกว่าของเหลวและของแข็งตามลำดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น