วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

ข้อสอบ

ข้อสอบ


http://www.trueplookpanya.com/examination/doexam/10478
https://blog.eduzones.com/advisor/182412





ข่าวสารเคมีกัดสีผมรั่ว ซ.รามฯ 104 อพยพคนวุ่น


เกิดเหตุสารเคมีที่ใช้ทำน้ำยากัดสีผมของโรงงานใน ซ.รามคำแหง 104 รั่ว ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องอพยพประชาชนที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงเป็นการด่วน
เจ้าหน้าที่กู้ภัยและเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษ กรุงเทพมหานคร เร่งฉีดน้ำทำลายสารเคมีที่นำไปใช้ทำน้ำยากัดสีผม หลังเกิดสารเคมีไฟร์โซเดียมซัลเฟตกว่า 500 ลัง รั่วในโกดังเก็บสินค้า ซึ่งดัดแปลงมาจากอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ในซอยรามคำแหง 104 เจ้าหน้าที่ต้องสวมชุดป้องกันเข้าไปฉีดน้ำควบคุมการระเหยของสาร และกั้นพื้นที่ภายในซอยเป็นพื้นที่อันตราย พร้อมอพยพประชาชนออกทั้งหมด เนื่องจากหากสูดดมจะส่งผลกระทบต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ มีอาการแสบตา มึนศีรษะ และคันตามผิวหนัง โดยจากการวัดระดับพบว่าอยู่ในระดับ 6 ถือว่าเป็นอันตราย แต่ยังไม่ถึงขั้นรุนแรง นอกจากนี้ ยังแจกหน้ากากป้องกันการสูดดมสารเคมีโดยตรงให้ประชาชนที่อาศัยในละแวกใกล้เคียง
ที่ตั้งของโรงงานยังอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนโสมาภานุสสรณ์ ทางโรงเรียนจึงสั่งปิดและอพยพเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึง ป.6 ออกจากพื้นที่ และแจ้งผู้ปกครองมารับกลับ ส่วนวันพรุ่งนี้ (23 ก.ย.) จะสามารถเปิดการเรียนการสอนได้หรือไม่ ต้องรอคำยืนยันจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ข่าวสารเคมีรั่วไหล รง.ที่ระยอง อพยพคนไม่เกี่ยวข้องพ้นพื้นที่


สารเคมีรั่วไหล รง.ที่ระยอง อพยพคนไม่เกี่ยวข้องพ้นพื้นที่

เกิดเหตุสารไฮโดรคาร์บอน โรงงานที่ระยอง รั่วไหลขณะเดินเครื่อง เจ้าหน้าที่อพยพคนไม่เกี่ยวข้องพ้นพื้นที่ ขณะทีมชำนาญการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินของบริษัทฯ คุมสถานการณ์ได้แล้ว...

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 12 กรกฎาคม เกิดเหตุสารเคมี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สาขา 5 นิคมอุตสาหกรรม RIL ต.มาบข่า อ.เมือง จ.ระยอง รั่วไหล เบื้องต้นไม่มีประกายไฟ มีเพียงกลุ่มควันสีขาวฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ

ขณะที่ ทีมชำนาญการของ พีทีที โกลบอล เคมิคอล ออกหนังสือชี้แจงว่า เมื่อเวลา เวลา 12.39 น. เกิดเหตุสารไฮโดรคาร์บอนรั่วไหลระหว่างเริ่มเดินเครื่อง โรงอะโรเมติกส์ 2 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สาขา 5 จังหวัดระยอง ขณะนี้ทีมชำนาญการตอบโต้ภาวะมติกส์ 2 บริษัท พีทีที




วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

ข่าวจีนคลังสารเคมีระเบิดรุนแรงที่เทียนจิน ยอดเสียชีวิต 44 ราย

จีนคลังสารเคมีระเบิดรุนแรงที่เทียนจิน ยอดเสียชีวิต 44 ราย


คืนวานนี้ (12 ส.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 23.10 น. ตามเวลาจีน เกิดเหตุระเบิดอย่างรุนแรงในพื้นที่ย่านผิงไห่ เทศบาลนครเทียนจิน ทางตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
ทวิตเตอร์ @XHNews เผยภาพขณะเกิดเหตุซึ่งเห็นได้ว่าการระเบิดครั้งนี้รุนแรงมาก เปลวเพลิงและกลุ่มควันพวยพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้าสูงหลายเมตร
ทวิตเตอร์ @MSimonTV ของ นายแมตต์ ไซมอน โปรดิวเซอร์รายการข่าว CCTV อเมริกา รายงานว่า เหตุระเบิดนี้เกิดขึ้นในท่าเรือตงเจียง เก็บสินค้าจำพวกสารเคมี สารไวไฟ และสารระเบิดร้ายแรงของบริษัท รุ่ยไห่ อินเตอร์เนชั่นแนล โลจิสติกส์ แรงระเบิดระดับรุนแรงสองครั้ง วัดขนาดได้ถึง 2.3 แมกนิจูด หรือ เท่ากับระเบิดทีเอ็นที 3 ตัน และ 2.9 แมกนิจูด หรือเทียบเท่ากับระเบิดทีเอ็นที 21 ตัน ส่วนตึกและอาคารในรัศมีราว 10 กิโลเมตรจากจุดระเบิดนั้นเสียหายเกือบทั้งหมด
ล่าสุด 13.00 น. ทวิตเตอร์ @XHNews รายงานว่า พบผู้เสียชีวิตแล้ว 44 ราย โดยในจำนวนนี้มี 12 คนเป็นเจ้าหน้าที่ดับเพลิง

ข่าวหนุ่มคลั่ง บุกทุบห้องสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลบางแสนพังเละ หวิดดับคาสารเคมี

หนุ่มคลั่ง บุกทุบห้องสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลบางแสนพังเละ หวิดดับคาสารเคมี


วานนี้(31 มี.ค.) เฟซบุ๊กเพจ SV News ข่าวบางแสน ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า สภ.แสนสุข จ.ชลบุรี ได้รับแจ้งจาก รปภ.ว่ามีคนคลุ้มคลั่งบุกเข้ามาภายในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลบางแสนและทุบกระจกแตกหลายจุด เจ้าหน้าที่จึงรีบไปตรวจสอบพร้อมกับ รปภ. พบชายอายุประมาณ 25 ปีอยู่ในอาการคล้ายคนเมายา
โดยเจ้าหน้าที่ รปภ.พยายามเข้าไปใกล้หนุ่มคนดังกล่าวก็มีอาการตื่นตกใจและวิ่งหนีเข้าไปภายในห้อง จุลชีว ซึ่งเป็นห้องสารเคมีและห้องเก็บตัวอย่างสัตว์ทะเลและพืชชนิดต่างๆ รวมถึงมีอุปกรณ์ต่างๆเครื่องตรวจสภาพน้ำและอื่นๆ ซึ่งบางอย่างมีราคาแพงเพราะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ โดยชายคนดังกล่าวทุบกระจกและเข้าไปภายในห้องและทุบทำลายข้าวของทุกอย่างจนพังเละ ส่วนชายคนดังกล่าวได้รับบาดเจ็บถูกกระจกบาดที่มือจนเลือดไหลนองเต็มห้อง
เจ้าหน้าที่พยายามจะเข้าไปควบคุมตัวแต่เข้าไปไม่ได้ เนื่องจากห้องดังกล่าวเป็นห้องเก็บสารเคมีซึ่งมีกลิ่นแรงมากไม่สามารถเข้าไปได้ แต่ชายคนดังกล่าวนอนนิ่งอยู่ข้างในห้องเกรงจะเสียชีวิต เพราะสารเคมีมีกลิ่นแรงมาก รปภ.จึงจะพยายามเข้าไปช่วย จนกระทั่งชายคนดังกล่าวพยายามเดินออกมาและนอนอยู่หน้าห้อง หัวหน้า รปภ.จึงพยายามเข้าไปเกลี้ยกล่อมจนกระทั่งชายคนดังกล่าวยอมออกมาจากห้อง ชายคนดังกล่าวมีอาการพูดจาไม่รู้เรื่อง มีบาดแผลที่แขนและมือ จากการสอบถามทราบว่าชื่อนายพิทักษ์ อายุ 26 ปี เป็นคนจังหวัดหรองบัวลำภู มาทำงานก่อสร้าง รปภ.จึงรีบนำตัวส่ง โรงพยาบาล ม.บูรพาต่อไป

ข่าวสารเคมีโรงงานอะไหล่รถรั่ว อพยพ200พนง.

สารเคมีโรงงานอะไหล่รถรั่ว อพยพ200พนง.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเกิดเหตุสารเคมีภายในนิคมอุตสาหกรรม อมตะนคร จังหวัดชลบุรีรั่วไหล จากการตรวจสอบพบว่า จุดเกิดเหตุเกิดขึ้นบริเวณ เฟส 5 เป็นบริษัทผลิตและชุบเคลือบสารเคมี ของอะไหล่รถยนต์ บริษัท สยาม คิปเปอร์ เมนูเฟชชันริงส์ โดยขณะเกิดเหตุมีพนักงานเข้าทำงานตามปกติ เมื่อเกิดสารเคมีรั่วไหล ทำให้พนักงานที่สูดดูมจำนวนมาก มีอาการปวดแสบจมูก คลื่นไส้ อาเจียน จำนวน 14 ราย เจ้าหน้าที่จึงลำเลียงส่งโรงพยาบาลพานทอง ทำการรักษา พร้อมลำเลียงพนักงานที่มีอยู่ประมาณ 200 ราย ที่อยู่ภายในออกนอกตัวอาคาร และประสานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ และใช้เวลากว่า 20 นาที ก็สามารถควบคุมสารเคมีที่รั่วไหลได้ ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่

ช่าวประกาศเขตภัยพิบัติ! สารเคมีรั่ว8,000คนหนีตายอลหม่าน

ประกาศเขตภัยพิบัติ! สารเคมีรั่ว8,000คนหนีตายอลหม่าน


     เกิดเหตุสารเคมีรั่วในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา โดยต้นเหตุเกิดจากระเบิดที่ถังบรรจุสารเคมีหลังอาคารโรงงานฝั่งทิศตะวันตกของโรงงานผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยส่งต่างประเทศรายใหญ่ของ บริษัท แมรี่กอท จิวเวลรี่ (ประเทศไทย ) จำกัด และพบว่าสารเคมีอันตรายที่บรรจุอยู่ภายในได้รั่วไหลออกมาอย่างรุนแรงทำให้คนงานกว่า 8,000 คนที่กำลังทำงานอยู่ต้องวิ่งหนีตายเอาชีวิตรอด
เบื้องต้นพบว่าคนงานกว่า 300 คนส่วนใหญ่เป็นสาวโรงงานที่สูดดมสารเคมีดังกล่าวเข้าไปได้รับบาดเจ็บจนต้องถูกนำส่งโรงพยาบาลหลายแห่ง ทั้งหมดมีอาการคล้ายกันคือ ช็อค หมดสติ ร่างกายเกร็งและกระตุก บางรายไม่รู้สึกตัว ขณะที่บางรายมีอาหารหายใจไม่ออก ปวดตามเนื้อตัวอย่างรุนแรง ทางแพทย์ได้เร่งให้การรักษาอย่างเร่งด่วนแต่ก็เต็มไปด้วยความสับสนเพราะคนไข้แต่ละคนอาการหนักและมีคนไข้จำนวนมากอย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด
ล่าสุดได้ประกาศเขตโรงงานดังกล่าวเป็นเขตอันตรายและให้หยุดกิจการทันทีจนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายหรือมีการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว 

ข่าวสารเคมีในโรงงานรั่ว พนักงานหนีตายอลหม่าน

ระทึก! สารเคมีในโรงงานรั่ว พนักงานหนีตายอลหม่าน


เกิดเหตุสารเคมีในโรงงานรั่ว พนักงานวิ่งหนีตาย เจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุเอาไว้ได้ทัน จากเหตุการณ์นี้ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างใด
เวลา 11.00 น. วันที่ 25 ต.ค. 60 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ดอนหัวฬ่อ ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่กู้ภัยไตรคุณธรรมว่า มีเหตุสารเคมีรั่วไหล บริษัทไทยเมกิ 2012 จำกัด เลขที่ 700/676 ม.7 ต.ดอนหัวฬ่อ อ.เมือง จ.ชลบุรี  มีพนักงานจำนวนมาก จึงรุดไปตรวจสอบทีเกิดเหตุ
ที่เกิดเหตุเป็นโรงงานเคลือบโลหะที่แท็งก์เก็บสารเคมีภายในโรงงาน มีสารสีเหลืองมีกลิ่นเหม็น พนักงานจำนวนกว่า 130 คน วิ่งหนีตายออกมานอกโรงงาน บางรายมีที่สูบดมเข้าไปมีอาการหน้ามืดเวียนหัว เจ้าหน้าที่กู้ภัยจึงเร่งนำตัวส่งโรงพยาบาลเป็นการเร่งด่วน
จากการสอบตรวจพบว่าสารเคมีดังกล่าวเป็นกรดไนตริกเป็นของเหลวไม่มีสี กลิ่นฉุนรุนแรง และมีความเป็นกรดสูง จึงอาจเป็นอันตรายต่อผิวหนังและผู้ที่สูดดม เบื้องต้นตอนนี้ทางโรงงานสามารถควบคุมการรั่วไหลได้แล้ว จากเหตุการณ์นี้ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างใด

ข่าวนักวิชาการเเนะ"บริษัทพีทีที โกบอล เคมิคอลฯ"เผยข้อมูลสารขจัดคราบน้ำมัน

นักวิชาการเเนะ"บริษัทพีทีที โกบอล เคมิคอลฯ"เผยข้อมูลสารขจัดคราบน้ำมัน

   รศ.พลังพล คงเสรี อาจารย์ประจำภาควิชาเคมีเเละชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยรายงานผลกระทบจากสารเคมีชนิดหนึ่ง ที่ใช้สลายคราบน้ำมันจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วในอ่าวเม็กซิโก เมื่อปี 2553 ที่ผลการวิจัยออกมาว่าสารเคมีที่ใช้ มีฤทธิ์เป็นสารก่อมะเร็ง เเละส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล เหตุการณ์ครั้งนั้นถือเป็นบทเรียนสำคัญที่นานาประเทศ เรียกร้องให้ผู้ดำเนินการบำบัดฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ต้องเปิดเผยรายละเอียดสารเคมีที่จะใช้เเก่สาธารณะชน เเละศึกษาผลกระทบให้รอบด้าน ก่อนพ่นลงทะเล
เเม้เหตุน้ำมันรั่วในอ่าวไทยครั้งนี้ จะไม่รุนเเรงเท่ากับอ่าวเม็กซิโกเมื่อ 3 ปีที่เเล้ว เเต่ก็อาจส่งผลต่อระบบนิเวศในระยะยาว หากผู้ที่ก่อมลพิษเเละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่เปิดเผยรายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่จะนำมาใช้
การศึกษาวิจัยจากเหตุน้ำมั้นรั่วที่อ่าวเม็กซิโกยังค้นพบว่า มีจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ใต้ทะเลบางชนิด มีคุณสมบัติสามารถกำจัดคราบน้ำมันที่รั่วไหลได้ นักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเห็นว่าเหตุน้ำมันรั่วในอ่าวไทย น่าจะใช้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในทะเลอ่าวไทย มาใช้เป็นตัวช่วยในการย่อยสลายคราบน้ำมันได้
ส่วนการสลายคราบน้ำมันโดยการใช้สารเคมี นักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมองว่า การกระทำดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเเปลก เพราะเป็นวิธีปฏิบัติที่หลายประเทศทั่วโลกนำมาใช้ เเต่ก็ควรใช้ให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล

ข่าวคันดินสะพานนวลฉวีพัง สารเคมีรั่ว อพยพวุ่น!

คันดินสะพานนวลฉวีพัง สารเคมีรั่ว อพยพวุ่น!


(26 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงกลางดึกที่ผ่านมา เกิดเหตุคันดินบริเวณสะพานนนทบุรี หรือสะพานนวลฉวี ฝั่งแยกสวนสมเด็จ จ.ปทุมธานี เกิดรอยรั่วความยาวประมาณ 3 เมตร ส่งผลให้น้ำได้ไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่ดังกล่าว
นอกจากนี้น้ำยังเข้าท่วมโรงงานย่านถนนติวานนท์ ใกล้สะพานนวลฉวี ทำให้เกิดสารเคมีจากโรงงานรั่วไหลปะปนกับน้ำ มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการสูดดมสารพิษ 4 ราย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลชลประทานแล้ว ขณะที่พื้นที่ที่เกิดเหตุ มีบ้านเรือนประชาชนประมาณ 25 หลังคาเรือน ซึ่งได้มีการอพยพออกจากพื้นที่แล้วทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นกลิ่นสารเคมีที่รั่วไหลเริ่มเจือจางลงไปบ้างแล้ว แต่ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ยังคงต้องรอให้สารเคมีอยู่ในระดับปลอดภัย ก่อนจะเข้าดำเนินการซ่อมแซมคันดินที่เสียหายบริเวณสะพานนวลฉวีต่อไป

ข่าวโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ชี้แจง เหตุสารเคมีรั่วไหลไม่ใช่ “ไซยาไนด์”

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ชี้แจง เหตุสารเคมีรั่วไหลไม่ใช่ “ไซยาไนด์”


การไฟฟ้าแม่เมาะแจงเหตุสารเคมีรั่วไหล คือ กรดไฮโดรคลอริก  เมื่อถูกน้ำจะเกิดเป็นไอมีกลิ่นฉุน ตามมาตรการด้านความปลอดภัย จึงให้พนักงานที่ปฏิบัติงานออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย
นายศานิต นิยมาคม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ชี้แจงถึงกรณีที่ช่วงเช้าวันที่ 6 พฤษภาคม มีกระแสข่าวว่า เกิดเหตุสารไซยาไนด์รั่วภายในบริเวณสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 4-7 และมีการอพยพคนงานออกจากพื้นที่ดังกล่าว โดยกฟผ. ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงว่า สารเคมีดังกล่าวไม่ใช่สารไซยาไนด์
ทั้งนี้ ภายหลังเกิดเหตุสารเคมีที่ใช้ปรับสภาพน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้ามีการรั่วซึม ได้ดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยเร่งด่วนจนสถานการณ์คลี่คลายกลับเข้าสู่สภาวะปกติเรียบร้อย เจ้าหน้าที่และคนงานกลับเข้าไปปฏิบัติงานได้ตามปกติ พร้อมยืนยันว่าไม่มีผู้ได้รับอันตรายจากเหตุการณ์ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 (MMRP1) พบเหตุ “กรดไฮโดรคลอริค (HCL) หรือ กรดเกลือ” รั่วไหลในปริมาณเล็กน้อยระหว่างการทดสอบระบบ จึงได้ให้คนงานที่อยู่ในรัศมี 10 เมตร ออกไปอยู่ที่จุดรวมพล เพื่อความปลอดภัย และเป็นการปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัย ระดับที่ 1
กรดไฮโดรคลอริค (HCL) หรือ กรดเกลือ เป็นสารเคมีที่มีไว้ใช้สำหรับปรับสภาพน้ำที่ใช้ในโรงไฟฟ้า เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพก่อนน้ำไปใช้ในระบบ

ข่าวชาวบ้านร้อง กลิ่นสารเคมีลอยทั่วหมู่บ้าน จนท.พบขยะพิษกว่า 1,000 ตัน

ชาวบ้านร้อง กลิ่นสารเคมีลอยทั่วหมู่บ้าน จนท.พบขยะพิษกว่า 1,000 ตัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายรณภพ เวียงสิมมา นายอำเภอเมืองราชบุรี พร้อมกับ พ.ต.อ.อภิชาต พุทธบุญ ผู้กำกับการ สภ.เมืองราชบุรี และ นายจำนง จันทรวงศ์ ปลัดอำเภอเมืองราชบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรม จ.ราชบุรี เข้าตรวจสอบบริษัท มิราเคิล เลเธอร์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 159 หมู่ 9 ต.ห้วยไผ่ อ.เมือง จ.ราชบุรี หลังได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่า โรงงานของบริษัทดังกล่าว ได้มีกลิ่นโชยออกมาจากโรงงานเหม็นไปทั่วบริเวณ อีกทั้งยังมีแรงงานต่างด้าวมาทำงานอยู่ด้วย
จากการตรวจสอบ พบแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก กำลังทำงานอยู่ภายในโรงงาน จึงได้เข้าควบคุมตัวไว้ แต่มีบางส่วนหลบหนีไปได้ โดยสามารถควบคุมตัวมาสอบสวน จำนวน 43 คน แบ่งเป็นแรงงานชาวเมียนมา จำนวน 32 คน โดยทั้งหมดไม่มีบัตรมาแสดงตัวตน อ้างว่าบัตรอยู่ที่นายจ้าง และยังพบแรงงานชาวจีนอีก 11 คน ซึ่งทั้งหมดอ้างว่ามีบัตรพาสปอร์ต เป็นนักท่องเที่ยวที่เข้ามาดูกระบวนการทำงานของบริษัท เพื่อจะนำไปปรับใช้กับระบบอุตสาหกรรมในประเทศของตนเอง เจ้าหน้าที่จึงนำตัวแรงงานทั้งหมดตรวจสอบว่า มีการเข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
นอกจากนี้ ยังพบว่าภายในโรงงานมีเครื่องจักรกล มีสายพานลำเลียงขยะอิเล็กทรอนิกส์มารีไซเคิล ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ พลาสติก และแผงไฟ ที่มีการคัดแยกแล้วบางส่วน และอยู่ระหว่างการเตรียมคัดแยกที่กองไว้และที่บรรจุในถุงรวมแล้วมากกว่าหนึ่งพันตัน โดยบางส่วนถูกนำมาบดอัด และทำเป็นเม็ดพลาสติก

สภาพขั้วของโมเลกุล

สภาพขั้วของโมเลกุล
     ในพันธะโคเวเลนต์ อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ จะเคลื่อนที่อยู่ระหว่าง อะตอมทั้งสอง ถ้าพบว่าอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะระหว่างอะตอมคู่ใด เคลื่อนที่อยู่ตรงกลางระหว่างอะตอมพอดี แสดงว่าอะตอมคู่นั้นมีความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะเท่ากัน แต่ถ้าพบว่า อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ เคลื่อนที่อยู่ใกล้อะตอมใดอะตอมหนึ่ง มากกว่าอีกอะตอมหนึ่ง แสดงว่าอะตอมคู่นั้น มีความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะไม่เท่ากัน ดังภาพ
(ก) อิเล็กตรอนถูกดึงดูดเท่า ๆ กัน



ค่าที่บอกให้ทราบถึงความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนของธาตุที่สร้างพันธะกันเป็นสารประกอบเรียกว่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี(Electronegativity)ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนประจุในนิวเคลียส และระยะระหว่างเวเลนต์อิเล็กตรอนกับนิวเคลียส
ธาตุที่มีจำนวนประจุในนิวเคลียสมาก แต่มีระยะระหว่างเวเลนต์อิเล็กตรอนกับนิวเคลียสห่างกันน้อยจะมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงกว่าธาตุที่มีระยะระหว่างเวเลนต์อิเล็กตรอนกับนิวเคลียสห่างกันมาก
อะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง มีแนวโน้มที่จะแสดงอำนาจไฟฟ้าลบ
อะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ มีแนวโน้มที่จะแสดงอำนาจไฟฟ้าบวก
ลักษณะสำคัญของพันธะโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว
1. เป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เกิดกับคู่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน
2. เป็นพันธะโคเวเลนต์ที่มีการกระจายอิเล็กตรอนให้แต่ละอะตอมเท่ากัน
3. พันธะโคเวเลนต์ไม่มีขั้วอาจจะเกิดกับพันธะโคเวเลนต์ชนิดพันธะเดี่ยว เช่น Cl - Cl พันธะโคเวเลนต์ชนิดพันธะคู่ เช่น O = O และพันธะโคเวเลนต์ชนิดพันธะสาม เช่น N N
4. พันธะโคเวเลนต์ที่ไม่มีขั้วเกิดในโมเลกุลใดเรียกว่า โมเลกุลไม่มีขั้ว (non- polar molecule)
       ลักษณะสำคัญของพันธะโคเวเลนต์มีขั้ว
1. พันธะโคเวเลนต์มีขั้วเกิดกับคู่อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่างกัน
2. เป็นพันธะโคเวเลนต์ที่มีการกระจายอิเล็กตรอนในแต่ละอะตอมไม่เท่ากัน
3. พันธะโคเวเลนต์มีขั้วเกิดในโมเลกุลใด โมเลกุลนั้นจะมีขั้วหรืออาจจะไม่มีขั้วก็ได้ แต่ถ้าพันธะโคเวเลนต์มีขั้ว เกิดในโมเลกุลที่มีเพียง 2 อะตอม โมเลกุลนั้นต้องเป็นโมเลกุลมีขั้วเสมอ
เขียนสัญลักษณ์แสดงขั้วของพันธะ
ใช้เครื่องหมาย อ่านว่า เดลตา โดยกำหนดให้ว่า พันธะมีขั้วใดที่อะตอมแสดงอำนาจไฟฟ้าลบ (เป็นอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง) ใช้เครื่องหมายแทนด้วย และพันธะโคเวเลนต์มีขั้วใดที่อะตอมแสดงอำนาจไฟฟ้าบวก (เป็นอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ )  ใช้เครื่องหมายแทนด้วย เช่น HF และ ClF

การเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์

การเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์
1.  ให้เรียกชื่อของธาตุที่อยู่ข้างหน้าก่อนแล้วตามด้วยชื่อของธาตุที่อยู่ด้านหลัง โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายของธาตุเป็น-ไอด์(-ide) ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
ไฮโดรเจน (H)    ออกเสียงเป็น ไฮไดรต์
คาร์บอน (C)       ออกเสียงเป็น คาร์ไบด์
ไนโตรเจน (N)    ออกเสียงเป็น ไนไตรด์
ฟลูออรีน (F)      ออกเสียงเป็น ฟลูออไรด์
คลอรีน (CI)       ออกเสียงเป็น คลอไรต์
ออกซิเจน (O)    ออกเสียงเป็น ออกไซต์
     2.  ระบุจำนวนอะตอมของธาตุไว้หน้าชื่อธาตุ โดยวิธีการระบุจำนวนอะตอมของธาตุจะระบุโดยใช้ชื่อตัวเลขในภาษากรีก ดังนี้
1     =    มอนอ (mono) 
2     =    ได (di)
3     =    ไตร (tri)
4     =    เตตระ (tetra)
5     =    เพนตะ (penta)
6     =    เฮกซะ (hexa)
7     =    เฮปตะ (hepta)
8     =    ออกตะ (octa)
9     =    โนนะ (nona)
10   =    เดคะ (deca)

ปฏิกิริยานิวเคลียร์

ปฏิกิริยานิวเคลียร์

     ปฏิกิริยานิวเคลียร์คือปฏิกิริยาที่นิวเคลียสของอะตอมชนิดเดียวกันเกิดการชนกันเอง  หรือนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งตัวเกิดการชนกันกับอนุภาคย่อยของอีกอะตอมหนึ่ง เมื่อเกิดการชนกันแล้วทำให้เกิดนิวเคลียสใหม่หนึ่งตัวหรือมากกว่าหนึ่งตัว โดยนิวเคลียสที่เกิดใหม่ต้องมีจำนวนโปรตอน นิวตรอนที่เปลี่ยนแปลงไปจากนิวเคลียสเดิม
     ปฏิกิริยาฟิชชั่น ( Fission Process)  – คือ ปฏิกิริยาที่อะตอมของธาตุที่มีขนาดใหญ่เกิดการแตกตัวเป็นอะตอมของธาตุที่มีขนาดเล็ก 2 อะตอม ซึ่งในกระบวนการของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะมีการคายพลังงานออกมาด้วย


     ปฏิกิริยาฟิวชั่น ( Fusion Process)  – คือปฏิกิริยาที่ตรงกันข้ามกับปฏิกิริยาฟิชชั่น นั่นคือ เป็นปฏิกิริยาที่อะตอมของธาตุที่มีขนาดเล็กหรือมีธาตุที่มีน้ำหนักเบาสองอะตอมเกิดการรวมตัวกันอะตอมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น  ปฏิกิริยาฟิวชั่นนี้จะมีการคายพลังงานหรือดูดพลังงานก็ได้

ประโยชน์เเละโทษจากการใช้ธาตุกัมมันตรังสี



ประโยชน์จากการใช้ธาตุกัมมันตรังสี

          1. ด้านธรณีวิทยา การใช้คาร์บอน-14  (C-14) คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ
          2. ด้านการแพทย์ ใช้ไอโอดีน-131 (I-131) ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของ        ต่อมไธรอยด์ โคบอลต์-60 (Co-60) และเรเดียม-226 (Ra-226) ใช้รักษาโรคมะเร็ง
          3. ด้านเกษตรกรรม ใช้ฟอสฟอรัส 32 (P-32) ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช ปรับปรุง       เมล็ดพันธุ์ที่ต้องการและใช้โพแทสเซียม-32 (K–32) ในการหาอัตราการดูดซึมของต้นไม้
          4. ด้านอุตสาหกรรม ใช้ธาตุกัมมันตรังสีตรวจหารอยตำหนิ เช่น รอยร้าวของโลหะหรือท่อขนส่งของเหลว ใช้ธาตุกัมมันตรังสีในการ ตรวจสอบและควบคุมความหนาของวัตถุ ใช้รังสีฉายบนอัญมณีเพื่อให้มีสีสันสวยงาม
          5. ด้านการถนอมอาหาร ใช้รังสีแกมมาของธาตุโคบอลต์-60 (Co–60) ปริมาณที่พอเหมาะใช้ทำลายแบคทีเรียในอาหาร  จึงช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นานขึ้น
          6. ด้านพลังงาน มีการใช้พลังงานความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูของยูเรีเนียม-238 (U-238) ต้มน้ำให้กลายเป็นไอ แล้วผ่านไอน้ำไปหมุนกังหัน 
เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้

โทษจากการใช้ธาตุกัมมันตรังสี

1. ถ้าร่างกายได้รับจะทำให้โมเลกุลภายในเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ถ้าเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมก็จะเกิดการผ่าเหล่า
โดยเฉพาะเซลล์สืบพันธุ์เมื่อเข้าไปในร่างกายจะไปสะสมในกระดูก
2. ส่วนผลที่ทำให้เกิดความป่วยไข้จากรังสี
เมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับรังสี โมเลกุลของธาตุต่างๆ ที่ประกอบเป็นเซลล์จะแตกตัว ทำให้เกิดอาการป่วยไข้และเกิดมะเร็งได้





ครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสี

ครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสี

ครึ่งชีวิตของธาตุ (half life) มายถึง ระยะเวลาที่สารสลายตัวไปจนเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิมใช้สัญลักษณ์เป็น t1/2 นิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีที่ไม่เสถียร จะสลายตัวและแผ่รังสีได้เองตลอดเวลาโดยไม่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิหรือความดัน อัตราการสลายตัว เป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนอนุภาคในธาตุกัมมันตรังสีนั้น ปริมาณการสลายตัวจะบอกเป็นครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทป
ประโยชน์ของครึ่งชีวิต  ครึ่งชีวิตสามารถใช้หาอายุของวัตถุโบราณที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เรียกว่าวิธี Radiocarbon Dating ซึ่งคำว่า dating  หมายถึง การหาอายุจึงมักใช้หาอายุของวัตถุโบราณที่มีคุณค่าทางประวิติศาสตร์ หลักการสำคัญของการหาอายุวัตถุโบราณโดยวิธี Radiocarbon Dating เป็นหลักการที่อาศัยความรู้เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีที่เกิดขึ้นเองในอากาศ ตัวการที่สำคัญคือ รังสีคอสมิก ซึงอยู่ในบรรยากาศเหนือพื้นโลก มีความเข้มสูงจนทำให้นิวเคลียสขององค์ประกอบของอากาศแตกตัวออก ให้อนุภาคนิวตรอน แล้วอนุภาคนิวตรอนชนกับไนโตรเจนในอากาศ


สูตรการหาครึ่งชีวิตของธาตุ  


T = nt1/2             หรือ     n =  T /t1/2
Nเหลือ   =  กัมมันตรังสีที่เหลือ
T           =  จำนวนเวลาที่ธาตุสลายตัว(วัน)
Nเริ่มต้น   กัมมันตรังสีเริ่มต้น
n           =  จำนวนครั้งในการสลายตัวของครึ่งชีวิต
ตัวอย่าง  จากการทดลองพบว่า เมื่อตั้ง Cs – 137 ไว้ 120 วัน จะมี Cs – 137 เหลืออยู่ 300 กรัม ถ้าครึ่งชีวิตของ Cs – 137 เท่ากับ 30 วัน จงหาว่าเมื่อเริ่มต้นทดลองมี Cs -137 อยู่เท่าใด
วิธีทำ                        Nเริ่มต้น   =   N เหลือ * 2n
                                         =   300*2120/30
                                                  =   300*24
                                                  =   300*16
                                                  =   4800 กรัม



ปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี (อังกฤษChemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีสารเริ่มต้นปฏิกิริยาเรียกว่า "สารตั้งต้น" (reactant) ซึ่งจะมีเพียงตัวเดียวหรือมากกว่า 1 ตัวก็ได้ มาเกิดปฏิกิริยากัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นโดยสิ้นเชิง
แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน) และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน
ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี

ธาตุกัมมันตรังสี

ธาตุกัมมันตรังสี

     ธาตุกัมมันตรังสี หมายถึงธาตุที่แผ่รังสีได้ เนื่องจากนิวเคลียสของอะตอมไม่เสถียร เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่า 82     กัมมันตภาพรังสี หมายถึงปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง รังสีที่ได้จากการสลายตัว 
มี 3 ชนิด คือ รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมาในนิวเคลียสของธาตุประกอบด้วยโปรตอนซึ่ง มีประจุบวกและนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า สัดส่วนของจำนวนโปรตอนต่อจำนวนนิวตรอนไม่เหมาะสมจนทำให้ธาตุนั้นไม่เสถียร ธาตุนั้นจึงปล่อยรังสีออกมาเพื่อปรับตัวเองให้เสถียร ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
    รังสีแอลฟา (alpha rays หรือ a-rays) เป็นกระแสของอนุภาคแอลฟาที่มีประจุบวก ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และ นิวตรอน 2 อนุภาค ซึ่งเหมือนกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ ผ่านอากาศได้เพียง 2- 3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ อนุภาคแอลฟาเกิดจากการสลายของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น ยูเรเนียม และทอเรียม
    รังสีบีตา (beta rays หรือ b-rays) ได้แก่ อนุภาคอิเล็กตรอน หรือโพซิตรอน ที่ถูกปล่อยออกจากนิวเคลียสขณะเกิดการ สลายกัมมันตรังสีของธาตุกัมมันตรังสี
    รังสีแกมมา (gamma rays หรือ g-rays) เป็นรังสีที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดคลื่นสั้น เกิดจากการสลายของนิวเคลียสที่ ไม่เสถียร หรือจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ มักเกิดร่วมกับอนุภาคแอลฟาและอนุภาคบีตา รังสีแกมมามีอำนาจในการทะลุทะลวงสูง ดังนั้น ในการป้องกันอันตรายจากรังสีจึงต้องใช้วัสดุที่มีความหนาแน่นสูง เช่น ตะกั่ว หรือคอนกรีตหนาเป็นเครื่องกำบัง

6.จุดเดือดจุดหลอมเหลว

6.จุดเดือดจุดหลอมเหลว

อนุภาคของสารที่อยู่รวมกันจะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน การแยกอนุภาคของสารออกจากกันอาจใช้วิธีให้ความร้อนแก่สารจนมีอุณหภูมิสูงถึง จุดหลอมเหลวหรือจุดเดือด พลังงานความร้อนที่ใช้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาด (หรือความแข็งแรง) ของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคในสารนั้น สารที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมากจะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงด้วย ตัวอย่างจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของธาตุหมู่ IA-VIIA
   อุณหภูมิที่ทำให้สารเคมีเปลี่ยนสถานะจากของแข็งหลอมเป็นของเหลว หรือของเหลวเดือดกลายเป็นก๊าซ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายสูงกว่าได้ เช่น กำมะถันปกติจะมีสถานะเป็นผลึก ของแข็ง หรือผง เมื่อให้ความร้อนสูงถึง 119 องศาเซลเซียส ก็จะหลอมละลายเป็นกำมะถันเหลว (Melten) Sหรือ H2SOและจะเดือดกลายเป็นไอของ SO2 และ SO3 ที่อุณหภูมิสูงกว่า 444.6 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นอันตรายจากความเป็นพิษและฤทธิ์กัดกร่อนมากกว่าของเหลวและของแข็งตามลำดับ

5.สัมพรรคพอิเล็กตรอนภาพ

5.สัมพรรคพอิเล็กตรอนภาพ

สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (electron affinity : EA) หมายถึงพลังงานที่อะตอมในสถานะแก๊สคายออกเมื่ออะตอมได้รับอิเล็กตรอน 1 อิเล็กตรอน ซึ่งเขียนสมการแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานได้ดังนี้
    A(g) + e A(g) + DE
EA มีค่าเป็นลบ (–) เนื่องจากมีการคายพลังงานออกมา แสดงว่าอะตอมนั้นมีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอนเข้ามาได้ดี ความสามารถในการรับอิเล็กตรอนของแต่ละธาตุมีความแตกต่างกัน ดังตัวอย่าง
F(g) + e– F– (g) EA = –333 kJ/mol
O(g) + e– O– (g) EA = –142 kJ/mol
P(g) + e– P– (g) EA = –74 kJ/mol
   จากตัวอย่างแสดงว่า มีแนวโน้มรับอิเล็กตรอนได้สูงกว่า และ ตามลำดับ เมื่ออะตอมของธาตุรับ 1 อิเล็กตรอนแล้ว การรับอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นอีก 1 อิเล็กตรอนจะรับได้ยากขึ้น ดังนั้นค่า EA จึงมีค่าสูงขึ้นจนเป็นบวกได้ เช่น
   O(g) + e O2–(g) EA = 780 kJ/mol